บริษัท ลูกอัดและเศษเหล็กไทย จำกัด
THAI COMPRESSED AND STEEL SCRAPS

บริษัท ลูกอัดและเศษเหล็กไทย จำกัด
THAI COMPRESSED AND STEEL SCRAPS

ตลาดรถยนต์เมียนมาแนวโน้มสดใส พร้อมรับทุนไทย

ตลาดรถยนต์เมียนมา เปิดกว้างรับทุนไทย ฝ่ายวิจัยธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยหรือเอ็กซิม แบงก์ รายงานว่า อุตสาหกรรมยานยนต์ในเมียนมาเริ่มมีแนวโน้มสดใส หลังรัฐบาลเมียนมามีนโยบายผ่อนคลายการนำเข้ารถยนต์เมื่อปี 2555 จากเดิมที่มีการจำกัดการนำเข้ารถยนต์เพื่อควบคุมปริมาณรถยนต์ส่งผลทำให้ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมายอดจำหน่ายรถยนต์ในเมียนมาเติบโตแบบก้าวกระโดด ทั้งนี้บริษัท Frost & Sullivan บริษัทที่ปรึกษาด้านธุรกิจ คาดการณ์ว่า ในระหว่างปี 2555-2562 อุตสาหกรรมยานยนต์โดยรวมในเมียนมาจะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 7.8 ต่อปี ขณะที่ปัจจุบันรัฐบาลเมียนมาอยู่ระหว่างการร่างกฎหมายยานยนต์ฉบับใหม่เพื่อดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาลงทุนมากขึ้น จึงเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในด้านอุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วน รวมถึงธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง อาทิ ศูนย์บริการบำรุงรักษารถยนต์ และตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ เข้าไปขยายตลาดในเมียนมา ฝ่ายวิจัยเอ็กซิม แบงก์ ยังได้ฉายภาพรวมตลาดรถยนต์ในเมียนมาหลังการยกเลิกมาตรการจำกัดการนำเข้า ทำให้จำนวนรถยนต์ที่จดทะเบียนเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากจำนวน 267,561 คันในปี 2555 เป็น 313,582 คันในปี 2556 และ 389,441 คัน ในปี 2557 หรือขยายตัวเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 20 เทียบกับที่ขยายตัวเฉลี่ยที่ร้อยละ 5 ในช่วงปี 2552-2555 ขณะที่สภาพตลาดรถยนต์ในเมียนมานั้น   มากกว่าร้อยละ 90 เป็นรถยนต์นำเข้า ส่วนที่เหลือเป็นรถยนต์ที่ผลิตในเมียนมา […]

ยอดการนำเข้าผลิตภัณฑ์เหล็กเดือนสิงหาหดตัว 13%

  สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย เปิดเผย ยอดการนำเข้าผลิตภัณฑ์เหล็กรวมเดือนสิงหาคมหดตัว 13% yoy อยู่ที่ 1.4 ล้านตัน ขณะที่การนำเข้าผลิตภัณฑ์เหล็กสะสม 8 เดือนแรกปีนี้ขยายตัว 16% yoy อยู่ที่ 13.2 ล้านตัน ส่วนยอดส่งออกผลิตภัณฑ์เหล็กทั้งหมดเดือนสิงหาคมอยู่ที่ 210,000 ตัน ขยายตัว 69% yoy ส่วนการส่งออก ยอดส่งออกสะสม 8 เดือนแรกปีนี้อยู่ที่ 1.25 ตัน ขยายตัว 18% yoy การนำเข้าผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูปเดือนสิงหาคมอยู่ที่ 135,399 ตัน หดตัว 69% yoy โดยจำแนกเป็นการนำเข้า Billet และ Slab 33,380 ตัน และ 44,611 ตัน หดตัว 82% yoy และ 72% yoy ตามลำดับ ขณะที่การนำเข้าผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูปสะสม […]

ส่งออกเหล็กร่วง 45%

คาดกระทบส่งออกเหล็กไปสหรัฐลดลง 35-45% ผู้ผลิตที่ได้รับผลกระทบเร่งขอยื่นเว้นเก็บภาษีเหล็กและอะลูมิเนียมรายพิกัด นายวันชัย วราวิทย์ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ขณะนี้ ผู้ผลิตเหล็กและอะลูมิเนียมของไทยกำลังประสานผู้นำเข้าสหรัฐให้ยื่นยกเว้นเก็บอากรนำเข้าเหล็กและอะลูมิเนียมเป็นรายพิกัดหลังจากกระทรวงพาณิชย์ สหรัฐได้ออกประกาศรายละเอียดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อให้ผู้ที่ได้รับผล กระทบจากการใช้มาตรา 232 (เพื่อความมั่นคง) กับสินค้าที่จะเรียกเก็บอากรนำเข้าจากทั่วโลกในอัตรา 25% และ 10% ตามลำดับ โดยจะมีผลบังคับใช้ วันที่ 23 มี.ค.นี้ สามารถยื่นขอยกเว้นการใช้มาตรา 232 ได้ ทั้งนี้ ตามประกาศดังกล่าวได้กำหนดให้บุคคลหรือองค์กรที่ใช้สินค้าเหล็กและอะลูมิเนียมเพื่อธุรกิจในสหรัฐ เช่น ก่อสร้าง โรงงาน หรือผู้จัดหาให้ผู้ใช้มีสิทธิยื่นขอยกเว้นตามประกาศ และกำหนดให้ผู้ที่ไม่เห็นด้วยหรือผู้คัดค้านสามารถโต้แย้งการขอยกเว้นได้ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่ที่มีการยื่นขอยกเว้น ส่วนการพิจารณาว่าจะได้รับการยกเว้นให้หรือไม่ขึ้นอยู่กับสินค้าชนิดนั้นมีการผลิตในสหรัฐว่าเพียงพอหรือไม่ หรือสินค้าที่ผลิตภายในไม่มีคุณภาพเพียงพอ สำหรับเหล็กและอะลูมิเนียมที่ไทยจะประสานให้ผู้นำเข้ายื่นขอยกเว้นมีทั้งรายพิกัดและรายบริษัท โดยพิกัดเหล็กที่ไทยจะยื่นขอยกเว้น ได้แก่ ท่อ แผ่นเหล็กรีดเย็น และสเตนเลส (ไร้สนิม) โดยสินค้าบางรายการสหรัฐมีกำลังการผลิตเพียงพอ แต่โรงงานอาจจะไม่ผลิตด้วยเหตุผลด้านสิ่งแวดล้อม แหล่งข่าวเปิดเผยว่า สำนักงาน ส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครชิคาโก ได้ประเมินผลกระทบตามมาตรา 232 ในการเก็บอากรนำเข้าเหล็กและอะลูมิเนียมที่มีผลต่อไทย โดยคาดว่าผลิตภัณฑ์โลหะเหล็กที่สำคัญเข้าข่ายเสียภาษี ได้แก่ เหล็กรีดทรงแบน […]

เหล็กพรีเมี่ยมสู่ประเทศสีขาว

สมาคมเหล็กและเหล็กกล้าของจีน (CISA) ระบุว่า ปัจจุบันจีนถือว่าเป็นหนึ่งในผู้นำเข้าแร่เหล็กเบอร์ต้นของโลก โดย 2 ใน 3 ของแร่เหล็กจากทั่วโลกถูกส่งมาขายที่จีน และในปี 2017 ที่ผ่านมา จีนนำเข้า “แร่เหล็ก” เพิ่มขึ้นอีก 5% อยู่ที่ 1.07 พันล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า รัฐบาลจีนให้ความสำคัญกับการนำเข้าแร่เหล็ก เพื่อนำมาแปรรูปเป็นเหล็กกล้าเกรดพรีเมี่ยม ทั้งยังเป็นหนึ่งในความพยายามปรับปรุงประเทศให้เป็น “เมืองสีขาว” หลังจากที่เผชิญกับปัญหาหมอกควันพิษเกือบทุกปี โดยให้เหตุผลว่าโครงการก่อสร้างที่กำลังจะเกิดขึ้นในจีนนับจากนี้ จะต้องใช้วัสดุอุปกรณ์ที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อประเทศ ขณะเดียวกัน รัฐบาลยังให้ความสำคัญกับการส่งออกเหล็กกล้าคุณภาพสูงสู่ตลาดโลกด้วย โดยการพัฒนาเหล็กกล้าเกรดพรีเมี่ยมจะเอื้อประโยชน์ทั้งต่อจีน และอีกหลายประเทศที่มุ่งปฏิรูปประเทศให้เป็นเมืองสีขาว   18 มกราคม 2561 ข้อมูลจาก prachachat

จับตาเหล็กทะลักไทย

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (อีไอซี) ธนาคารไทยพาณิชย์ ประธานาธิบดีทรัมป์ลงนามอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 8 มี.ค. 2018 อนุมัติให้สหรัฐ เรียกเก็บภาษีนำเข้าเหล็ก จากทุกประเทศ(safeguard) ในอัตรา 25% เพิ่มเติมจากมาตรการภาษีทั้งหมดที่มีการเรียกเก็บอยู่ก่อนแล้วในปัจจุบัน โดยจะมีผลภายใน 15 วันหลังจากนี้ มาตรการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อกดดันการนำเข้าเหล็กให้ลดลงราว 13 ล้านตัน และกระตุ้นอุตฯภายในประเทศ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์และอุตสาหกรรมก่อสร้าง ให้หันมาใช้เหล็กที่ผลิตในประเทศมากขึ้นตามนโยบาย “American First” โดยในระยะแรกการนำเข้าเหล็กจากแคนาดาและเม็กซิโกจะได้รับการยกเว้นภาษีดังกล่าวก่อนเพื่อรอดูผล การเจรจา NAFTA ครั้งใหม่ ประเมินว่าปริมาณส่งออกเหล็กของไทยไปยังสหรัฐมีแนวโน้ม ลดลง 2 แสนตัน หรือเพียง 9% ของปริมาณเหล็กส่งออกทั้งหมดของไทยในปีที่ผ่านมา เนื่องจากสหรัฐไม่ได้เป็นตลาดส่งออกหลักของไทย โดยผลิตภัณฑ์เหล็กของไทยที่คาดว่าจะสามารถส่งออกไปสหรัฐได้น้อยลงประกอบไปด้วยท่อเหล็กเชื่อมตะเข็บ ท่อเหล็กไร้ตะเข็บ เหล็กแผ่นเคลือบ และเหล็กแผ่นรีดเย็น ซึ่งคิดเป็นมูลค่าส่งออกโดยรวมเพียง 7 พันล้านบาท หรือประมาณ 0.07% ของมูลค่าส่งออกสินค้าและบริการทั้งหมดของไทยในปี 2017 เท่านั้น ในด้านผลกระทบทางอ้อม ผลิตภัณฑ์เหล็กจากประเทศต่างๆ ที่ไม่สามารถนำเข้าไปในสหรัฐมีโอกาสที่จะถูกส่งออกมาทำตลาดในไทย โดยเฉพาะเหล็กกึ่งสำเร็จรูปจากรัสเซีย เหล็กเส้นจากตุรกี และลวดเหล็กจากจีน […]

ติดตามอุตฯเหล็กใกล้ชิด เตรียมรับมือ หากสหรัฐฯใช้มาตรการภาษีเหล็ก

สำหรับกรณีที่สหรัฐฯ จะประกาศใช้มาตรการทางการค้าโดยการเรียกเก็บอากรกับสินค้าเหล็กและอลูมินัมที่นำเข้าจากทั่วโลก โดยอาศัยอำนาจของประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ภายใต้กฎหมาย Trade Expansion Act of 1962 มาตรา 232 ซึ่งมีการเปิดการไต่สวนเพื่อใช้มาตรการโดยกระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐฯ (DOC) อ้างถึงเหตุผลของการใช้มาตรการเพื่อปกป้องความมั่นคงของประเทศ (National Security) นั้นจะมีความแตกต่างจากการใช้มาตรการภายใต้มาตรา 201 ของ Trade Act of 1974 ของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นมาตรการปกป้องจากการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น (Global Safeguards) ภายใต้ GATT Article XIX และความตกลงขององค์การการค้าโลก (WTO) โดยหน่วยงานที่มีอำนาจการไต่สวนเพื่อกำหนดใช้มาตรการฯ คือ คณะกรรมาธิการการค้าระหว่างประเทศสหรัฐฯ (U.S.International Trade Commission:USITC) ในการพิจารณาเพื่อกำหนดใช้มาตรการปกป้องจากการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น (Global Safeguards) กระบวนการไต่สวนต้องระบุให้ชัดเจนว่าสินค้าที่นำเข้ามีลักษณะเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกัน หรือแข่งขันโดยตรงกับสินค้าชนิดเดียวกันที่อุตสาหกรรมภายในผลิตอย่างไร และสินค้านำเข้านั้นก่อให้เกิดความเสียหายต่ออุตสาหกรรมภายในอย่างไร ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ สหรัฐฯ ได้มีการกำหนดใช้มาตรการภายใต้มาตรา 201 กับสินค้า 2 รายการ คือ สินค้าเครื่องซักผ้า […]

ทำลายรถหรูในกรุงมะนิลา

รถหรูถูกทำลายที่ลานจอดรถของสำนักงานศุลกากร ในกรุงมะนิลา โดยรถยนต์เหล่านี้ถูกยึดหลังจากถูกลักลอบนำเข้าจากต่างประเทศ จากัวร์ เล็กซัส คอร์แวตต์ สติงเรย์ รถยนต์เอสยูวีญี่ปุ่น และรถยนต์ระดับท็อปของเยอรมัน ทั้งหมด 30 คันรวมมูลค่า 61.6 ล้านเปโซ (37 ล้านบาท) ถูกทำลายในฟิลิปปินส์และอีก 2 เมือง ตามคำสั่งของดูเตร์เต ที่ประกาศให้การต่อสู้คอร์รัปชัน รวมทั้งการกวาดล้างอาชญากรรมและยาเสพติด เป็นนโยบายหลักในการบริหารประเทศ ในระยะ 6 ปีที่ดำรงตำแหน่งตามวาระ ตามปกติรถยนต์ที่ลักลอบนำเข้าและถูกทางการยึดในฟิลิปปินส์ จะถูกนำออกขายทอดตลาด และนำเงินรายได้เข้ารัฐ “ทุบมันทิ้งเป็นเศษเหล็ก เดี๋ยวผมจ่ายค่าเสียหายให้เอง ไม่มีปัญหา” ดูเตร์เต ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ กล่าวต่อผู้สื่อข่าว สำนักงานศุลกากรเก็บภาษีนำเข้า และเป็นหนึ่งในสำนักงานที่ทำเงินรายได้หลักเข้ารัฐ แต่ผลการสำรวจความคิดเห็นอิสระพบว่า ทุกครั้งหน่วยงานนี้เป็นหนึ่งในหน่วยงานรัฐบาลที่มีการทุจริตมากที่สุดของประเทศ   ข้อมูลจาก www.dailynews.co.th รูปจาก www.dailymail.co.uk